ReadyPlanet.com
dot dot
dot
Modern Management
dot
bulletReinventing Government
bulletNew Public Management
bulletBenchmarking
bulletBest Practices
bulletBalanced Scorecard
bulletKPI
bulletVirtual Organization
bulletBoundaryless Organization
bulletStrategy-Focused Organization
bulletShamrock Organization
bulletSWOT Analysis and TOWS Matrix
bulletPorter’s Five Competition Forces Model
bullete-Government
bulletCockpit Room
bulletKPI Dashboard
bulletDigital Government
bulletCompetency Dictionary
bulletCRM - Customer Relationship Management
bulletResult =Output+Outcome
bulletMilestone
bulletPDCA
bulletThailand Quality Award (TQA)
bulletPMQA
bulletInverted Pyramid Organization
bulletOne-Stop Service
bulletCustomer Centric Organization
bulletStrategy Map
bulletMission
dot
บริการข้อมูล
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletห้องสมุดกฎหมาย




Inverted Pyramid Organization

องค์การแบบพีระมิดกลับหัว (Inverted Pyramid Organization)

 

อีกแนวคิดหนึ่งที่สำคัญที่ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภายในองค์การก็คือ แนวคิดการบริหาร องค์การแบบพีระมิดกลับหัว (Inverted Pyramid Organization)ซึ่งแนวคิดนี้ถือได้ว่าเป็นการนำเสนอพาราไดม์หรือกรอบแนวคิดการบริหารองค์การแบบใหม่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากพาราไดม์เดิม คือ ตัวแบบการจัดโครงสร้างองค์การแบบเป็นทางการ (Bureaucratic Model) ที่เสนอโดย แม๊กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่ให้ความสำคัญต่อการสั่งการตามสายการบังคับบัญชาตาม  โดยเปลี่ยนมาเป็นให้อำนาจในการดำเนินงานแก่ระดับปฏิบัติการซึ่งถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานส่วนหน้า (front-lines) ที่จะต้องทำงานโดยใกล้ชิดกับลูกค้าหรือผู้รับบริการมากที่สุด  เพื่อให้การให้บริการและตอบสนองต่อลูกค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว   โดยผู้บริหารในฐานะที่เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สั่งการ จะถูกเปลี่ยนมาเป็นผู้เป็นทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของระดับปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้านทรัพยากร หรือการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น  ซึ่งแนวคิดของการบริหารการจัดการแบบพีระมิดกลับหัวนี้  ถือได้ว่าเป็นแนวคิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาการบริหารขององค์การภาครัฐได้  แสดงได้ดังภาพ

จากภาพดังกล่าว จะเห็นได้ว่าแนวคิดการจัดองค์การแบบพีระมิดกลับหัว  จะให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจของผู้บริหารระดับต่างๆ ที่มีอยู่แต่เดิมไปสู่ผู้ปฏิบัติงานให้สามารถตัดสินใจในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้รับบริการ โดยผู้บริหารแต่ละระดับจะเปลี่ยนบทบาทใหม่มาเป็นเป็นคอยผู้สนับสนุนและช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในระดับบนเท่านั้น  ดังนั้น การบริหารจึงไม่เน้นการสั่งการจากบนลงล่างเหมือนแต่เดิม  แต่จะเน้นการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ตลอดจนการรายงานผลการดำเนินงานและการติดต่อสื่อสารจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน







รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โทร. 086-9965-491 Copyright © 2010 All Rights Reserved.