ReadyPlanet.com
dot dot
dot
Modern Management
dot
bulletReinventing Government
bulletNew Public Management
bulletBenchmarking
bulletBest Practices
bulletBalanced Scorecard
bulletKPI
bulletVirtual Organization
bulletBoundaryless Organization
bulletStrategy-Focused Organization
bulletShamrock Organization
bulletSWOT Analysis and TOWS Matrix
bulletPorter’s Five Competition Forces Model
bullete-Government
bulletCockpit Room
bulletKPI Dashboard
bulletDigital Government
bulletCompetency Dictionary
bulletCRM - Customer Relationship Management
bulletResult =Output+Outcome
bulletMilestone
bulletPDCA
bulletThailand Quality Award (TQA)
bulletPMQA
bulletInverted Pyramid Organization
bulletOne-Stop Service
bulletCustomer Centric Organization
bulletStrategy Map
bulletMission
dot
บริการข้อมูล
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletห้องสมุดกฎหมาย




Thailand Quality Award (TQA)

Thailand Quality Award (TQA)

 

     รางวัลคุณภาพแห่งชาติหรือ Thailand Quality Award นี้ ได้กำหนดเกณฑ์การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศ จำแนกออกเป็น 7 หมวด มีรายละเอียด ดังนี้          

      หมวด 1 ภาวะผู้นำ โดยจะเป็นการตรวจประเมินว่า ผู้นำระดับสูงขององค์กรได้ดำเนินการอย่างไรในเรื่องต่อไปนี้

·         การนำองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

·         การกำกับดูแลกิจการ

·         จริยธรรมทางธุรกิจ

·         การปฏิบัติตามกฎหมาย

·         ความรับผิดชอบต่อสาธารณะและชุมชน

      หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยจะเป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการ

·         กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการขององค์กร

·         นำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

·         ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการในกรณีที่จำเป็น

·         วัดผลความคืบหน้าในการดำเนินการโดยเทียบกับแผน

      หมวด 3 การให้ความสำคัญกับลูกค้าและตลาด โดยจะเป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรดำเนินการอย่างไรในการ

·         ค้นหาว่าลูกค้าและตลาดต้องการอะไร คาดหวังอะไร และชอบอะไร

·         สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

·         ค้นหาและกำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้มาซึ่ง

o    ลูกค้าใหม่

o    ความพึงพอใจของลูกค้า

o    ความภักดีของลูกค้าซึ่งจะทำให้รักษาลูกค้าไว้ได้

o    การขยายตัวและความยั่งยืนของธุรกิจ

         หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้  โดยจะเป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรดำเนินการอย่างไรในการ

·         เลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ และสินทรัพย์ทางความรู้

·         พิจารณาผลการดำเนินการขององค์กร

         หมวด 5 การให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล โดยจะเป็นการตรวจประเมินว่า

·         ทั้ง 3 เรื่องต่อไปนี้ คือ 1) ระบบงาน 2) การทำให้พนักงานได้เรียนรู้ และ 3) การสร้างแรงจูงใจแก่พนักงาน  มีส่วนอย่างไรในการทำให้พนักงานได้พัฒนาตนเองและใช้ความรู้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ในการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการขององค์กร

·         ความเอาใจใส่ขององค์กรในการสร้างและดำรงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีในสถานที่ทำงาน รวมทั้งการสร้างบรรยากาศที่ทำให้พนักงานผาสุกนั้นมีส่วนอย่างไรในการช่วยทำให้

o    ผลการดำเนินงานที่ออกมาเป็นเลิศ (ทั้งของพนักงานและขององค์กร)

o    ทั้งพนักงานและองค์กรพัฒนาไปด้วยกัน

         หมวด 6 การจัดการกระบวนการ โดยจะเป็นการตรวจประเมินประเด็นสำคัญ ๆ ของการจัดการกระบวนการที่มีอยู่ในสองประเภท คือ

o    ประเภทแรกว่าด้วยการจัดการกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับตัวผลิตภัณฑ์และการให้บริการตลอดจนกระบวนการสำคัญอื่น ๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าและให้กับตัวองค์กรเอง

o    ประเภทที่สองว่าด้วยการจัดการกระบวนการสำคัญต่างๆ ที่ช่วยทำให้กระบวนการในประเภทแรกดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

         หมวด 7 ผลลัพธ์ทางธุรกิจ เป็นการตรวจประเมินผลการดำเนินการและผลลัพธ์ของการปรับปรุงในด้านต่างๆ ขององค์กร ได้แก่

·         สมรรถนะของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ

·         ความพึงพอใจของลูกค้า

·         การเงินและการตลาด

·         ทรัพยากรบุคคล

·         ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของปฏิบัติการต่างๆ

·         ภาวะผู้นำ

·         ความรับผิดชอบต่อสังคม







รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โทร. 086-9965-491 Copyright © 2010 All Rights Reserved.