ReadyPlanet.com
dot dot
dot
Modern Management
dot
bulletReinventing Government
bulletNew Public Management
bulletBenchmarking
bulletBest Practices
bulletBalanced Scorecard
bulletKPI
bulletVirtual Organization
bulletBoundaryless Organization
bulletStrategy-Focused Organization
bulletShamrock Organization
bulletSWOT Analysis and TOWS Matrix
bulletPorter’s Five Competition Forces Model
bullete-Government
bulletCockpit Room
bulletKPI Dashboard
bulletDigital Government
bulletCompetency Dictionary
bulletCRM - Customer Relationship Management
bulletResult =Output+Outcome
bulletMilestone
bulletPDCA
bulletThailand Quality Award (TQA)
bulletPMQA
bulletInverted Pyramid Organization
bulletOne-Stop Service
bulletCustomer Centric Organization
bulletStrategy Map
bulletMission
dot
บริการข้อมูล
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletห้องสมุดกฎหมาย




Shamrock Organization

การจัดองค์การแบบแชมรอค (Shamrock Organization)

       เป็นองค์การในอนาคตอีกรูปแบบหนึ่งที่เสนอโดย ชาร์ลส แฮนดี (Charles Handy)  เหตุผลที่เรียกองค์การแบบนี้ว่าเป็นองค์การแบบแชมรอค กล่าวได้ว่ามาจากรากฐานของชื่อต้นที่เป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งต้นแชมรอคจะมีลักษณะพิเศษที่สำคัญอยู่ที่ใบเป็นแฉก 3 ใบที่อยู่ติดกันเป็นกระจุก  ลักษณะใบ 3 แฉกที่อยู่ติดกันของต้นแชมรอคนี้  ได้ถูกนำมาเทียบเคียงกับการแบ่งกลุ่มงานภายในองค์การออกเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ (1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (professional core) (2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก (outsourcing vendors) และ (3) กลุ่มพนักงานชั่วคราว (part-time) 

         กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ถือได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นความสามารถหลักขององค์การ โดยเป็นผู้ปฏิบัติงานประจำขององค์การที่มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน  โดยมีหน้าที่หลักที่ต้องรับผิดชอบ คือ การบริหารและการดำเนินงานในภารกิจหรือกิจกรรมหลักที่เป็นหัวใจขององค์การ 

         กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก ซึ่งอาจจะเป็นภารกิจหรืองานหลักขององค์การ  หรือ ที่มิใช่เป็นภารกิจหรืองานหลักขององค์การก็ได้  โดยบุคคลที่มาปฏิบัติงานในกลุ่มนี้จะเป็นพนักงานของบริษัทหรือองค์การอื่นที่อยู่ในฐานะคู่สัญญากับองค์การ ในกรณีแรก  เป็นการว่าจ้างผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก ให้มาปฏิบัติภารกิจหรืองานหลักขององค์การ สาเหตุเกิดจากการที่องค์การต้องการเร่งดำเนินการให้เสร็จตามกำหนดเวลา หรือ องค์การต้องการที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรให้ต่ำลง  องค์การก็เลยว่าจ้างบุคลากรกลุ่มหนึ่งเข้ามาปฏิบัติงาน โดยที่ทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนในภารกิจหรืองานหลัก ตัวอย่างในภาครัฐ เช่น ว่าจ้างพนักงานธุรการจากบริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญา  เป็นต้น  ส่วนในกรณีที่สอง ที่มิใช่เป็นภารกิจหรืองานหลักขององค์การ เกิดจากการที่องค์การไม่ได้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้น หรือเกิดจากการที่องค์การมีมีบุคลากรไม่เพียงพอที่จะมาดำเนินการในภารกิจหรือกิจกรรมนั้น หรือ เกิดจากการที่องค์การไม่ประสงค์ที่จะดำเนินการ  ตัวอย่างในภาคเอกชนและภาครัฐ เช่น การว่าจ้างให้บริษัทหรือองค์การอื่นที่อยู่ในฐานะคู่สัญญากับองค์การ จัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ ที่เป็นงานสนับสนุน (staff) ขององค์การ

         กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มพนักงานชั่วคราว (part-time)  ซึ่งเป็นกลุ่มพนักงานที่องค์การได้ว่าจ้างจากบุคคลทั่วไปภายนอกโดยตรง เพื่อมาช่วยปฏิบัติงานในองค์การ ซึ่งอาจจะเป็นภารกิจหลักหรือมิใช่ที่เป็นภารกิจหลักขององค์การก็ได้  โดยที่จำนวนที่จะว่าจ้างจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามความจำเป็นหรือความต้องการขององค์การในแต่ละช่วงเวลา  ตัวอย่างในภาครัฐ เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชว่าจ้างบุคลากรภายนอกโดยตรงมาช่วยดำเนินการในภารกิจการสอบในแต่ละภาคการศึกษา

         จากที่กล่าวมาทั้งหมดถึงการจัดองค์การแบบแชมรอคดังกล่าวข้างต้น  จะเห็นได้ว่าการจัดองค์การแบบนี้สอดคล้องกับแนวคิดการลดขนาดองค์การ (downsizing)  เพราะองค์การแบบแชมรอคจะช่วยลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานประจำขององค์การลงให้เหลือเพียงแค่หนึ่งในสามเมื่อเปรียบเทียบกับทั้งหมด โดยจะเหลือเฉพาะผู้ปฏิบัติงานประจำที่ถือเป็นความสามารถหลักขององค์การเท่านั้น  ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานอีกสองส่วนที่ดำเนินงานให้กับองค์การนั้นจะไม่ถือเป็นผู้ปฏิบัติงานประจำขององค์การ






รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โทร. 086-9965-491 Copyright © 2010 All Rights Reserved.