ReadyPlanet.com
dot dot
dot
Modern Management
dot
bulletReinventing Government
bulletNew Public Management
bulletBenchmarking
bulletBest Practices
bulletBalanced Scorecard
bulletKPI
bulletVirtual Organization
bulletBoundaryless Organization
bulletStrategy-Focused Organization
bulletShamrock Organization
bulletSWOT Analysis and TOWS Matrix
bulletPorter’s Five Competition Forces Model
bullete-Government
bulletCockpit Room
bulletKPI Dashboard
bulletDigital Government
bulletCompetency Dictionary
bulletCRM - Customer Relationship Management
bulletResult =Output+Outcome
bulletMilestone
bulletPDCA
bulletThailand Quality Award (TQA)
bulletPMQA
bulletInverted Pyramid Organization
bulletOne-Stop Service
bulletCustomer Centric Organization
bulletStrategy Map
bulletMission
dot
บริการข้อมูล
dot
bulletราชกิจจานุเบกษา
bulletห้องสมุดกฎหมาย




Benchmarking

แนวคิดของการทำ Benchmarking 

        กล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นของการเกิดขึ้นของเครื่องมือ Benchmarking นั้นจะต้องให้เกียรติว่าเกิดขึ้นจาก บริษัท XEROX Corporation ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในช่วงขณะนั้นบริษัทได้ประสบปัญหาอย่างรุนแรงในการแข่งขันกับบริษัทของประเทศญี่ปุ่น  โดยในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1970 บริษัท XEROX Corporation ได้นำบริษัทตนเองไปเปรียบเทียบกับบริษัท Fuji-Xerox ถึงกับตกใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเด็นที่ว่าบริษัท Fuji-Xerox ในญี่ปุ่นได้ตั้งราคาจำหน่ายเครื่องถ่ายเอกสารไว้เท่ากับราคาที่เป็นต้นทุนการผลิตจากโรงงานในสหรัฐอเมริกา ประเด็นนี้ทำให้บริษัท XEROX ในสหรัฐอเมริกาได้หันมาค้นหาในการที่จะลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในกระบวนการผลิต ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาเทคนิค Benchmarking ก็ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนกระทั่งถึงในปัจจุบันนี้ โดยประธานกรรมการบริหารของบริษัท XEROX Corporation ได้แก่ เดวิด  ที  เคิร์นส์ (David T. Kearns) ได้ให้ความหมายไว้ว่า  Benchmarking หมายถึง กระบวนการที่ต่อเนื่องในการวัดผลผลิต บริการ  และการปฏิบัติงานต่างๆ โดยเปรียบเทียบในเชิงแข่งขันกับองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำ

         สถาบัน Benchnet ซึ่งเป็นสถาบันแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ของการทำ Benchmarking ขององค์การต่างๆ  ทั่วโลกโดยใช้สื่อทางอินเทอร์เน็ตออนไลน์  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  Benchmarking หมายถึง กระบวนการของการระบุ การทำความเข้าใจ และการประยุกต์ด้วยการนำเอาการปฏิบัติที่เป็นเลิศจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก เพื่อมาช่วยปรับปรุงผลการปฏิบัติงานองค์การของตนเองให้ดียิ่งขึ้น (Benchmarking is the process of identifying, understanding, and adapting outstanding practices from organizations anywhere in the world to help your organization improve its performance) โดยเป็นกิจกรรมที่มองออกไปข้างนอกเพื่อค้นหาและผลการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จในระดับสูง และนำมาหาทางในการวัดผลการปฏิบัติงานจริงขององค์การตนเองเทียบกับสิ่งที่ดีที่สุดนั้น

         โรเบิร์ต ซี. แค้มป์ (Robert C. Camp) เห็นว่า Benchmarking หมายถึง กระบวนการของการที่องค์กรหนึ่งมุ่งสำรวจองค์กรอื่นเพื่อดูว่าองค์การต้นแบบมีวิธีปฏิบัติอย่างไรใน  มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงให้เหมือนกับองค์กรต้นแบบ

         จอห์น เอส. โอ๊คแลนด์ เห็นว่า Benchmarking หมายถึง การกำหนดมาตรฐานขึ้นมาเพื่อสำหรับใช้ในการเปรียบเทียบ โดยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องในการระบุ การทำความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้สิ่งที่ดีที่สุดและกระบวนการของงานเพื่อนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่สูงขึ้นกว่าเดิม 

แนวทางของการทำ Benchmarking

         การทำ Benchmarking แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การทำ Benchmarking ภายในองค์การ (Internal Benchmarking)  และการทำ Benchmarking กับภายนอกองค์การ (External Benchmarking) โดยนักวิชาการที่สำคัญท่านหนึ่ง คือ เอช. เจมส์ แฮริงตัน (H. James Harrington) เห็นว่าในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์การโดยใช้เทคนิค  Benchmarking สามารถทำได้โดย 4 แนวทางใหญ่ ๆ คือ 

         1. การทำ Benchmarking จากภายใน (Internal Benchmarking)

         2. การทำ Benchmarking จากคู่แข่งขันทางธุรกิจ (Competitive Benchmarking)

         3. การทำ Benchmarking จากองค์การที่ประสบผลสำเร็จ (World-Class Operations Benchmarking)

         4.  การทำ Benchmarking ระดับกิจกรรม (Activity-Type Benchmarking)







รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โทร. 086-9965-491 Copyright © 2010 All Rights Reserved.