|
สัมมนาเสริมการบริหารภาครัฐ ครั้งที่ 2 | |
เรื่อง "การสัมมนา" ยังคงเป็นปัญหาของพวกเราอยู่ไม่น้อย แม้จะเป็นการสัมมนาครั้งที่ 2 แล้วก็ตาม กระผมจึงขออนุญาตใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมกับพวกเรา ดังนี้ครับ ประการแรก การสัมมนาและการจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนา การสัมมนาเป็นการมาอภิปราย นำเสนอ ทำความเข้าใจ และพยายามหาข้อยุติร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดย "ผู้รู้" หรือ "ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง" "เอกสารประกอบการสัมมนา" นั้น โดยปกติผู้จัดการสัมมนาจะเป็นผู้จัดเตรียมและจัดทำสำหรับผู้เข้าร่วมในการสัมมนา กรณีเป็นกิจกรรมของนักศึกษา กระผมจึงมอบหมายให้นักศึกษาไปศึกษา ค้นคว้า หาอ่าน และสรุปตามที่แต่ละคนไปอ่าน ไปค้นพบ และนำมาเผยแพร่แลกเปลี่ยนรู้ร่วมกันภายในกลุ่มเดียวกัน โดยท่านอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละกลุ่มจะเป็นผู้ประคับประคองให้อยู่ในหัวข้อหรือในประเด็น รวมทั้งการช่วยพวกเราสรุปในตอนท้ายของการสัมมนา ประการที่สอง หัวข้อหรือเรื่องที่กำหนดให้สัมมนาในครั้งที่ 2 นี้ คือ NPM คืออะไร มีความเป็นมาหรือมาได้อย่างไร และ"ทำไม" ต้อง NPM ซึ่งเป็นเรื่องที่นักศึกษาระดับมหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์จะต้องทราบ โดยเฉพาะ NPM ไม่ใช่เพียงหลักการ แนวคิด หรือทฤษฎีของนักวิชาการท่านใดท่านหนึ่ง ไม่ใช่นักวิชาการด้านใดด้านหนึ่ง หรือนักวิชาการจากประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หาแต่เมื่อเรามองย้อนกลับไปในระยะที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเป็นหลักการ แนวคิด หรือจุดสนใจ ที่เกิดขึ้นจากนักวิชาการ นักบริหาร (ในทางปฏิบัติ) หลาย ๆ ท่าน เป็นนักวิชาการทั้งด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจ และเป็นหลักการหรือแนวคิดที่เกิดขึ้นจากประเทศหรือภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งกรณีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และสหรัฐ อเมริกา ซึ่งผมอยากเรียกมันว่า "กระแส" มากกว่า ประเด็นนี้จึงทำให้นักศึกษาต้องพยายามค้นคว้าให้กว้างขวางมาก ๆ โดยเฉพาะท่านที่สามารถอ่านหนังสือ ตำรา หรือบทความภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดี จะมีแหล่งข้อมูลเยอะมาก ท่านที่เป็น "ภูมิแพ้ภาษา" ก็อย่ากังวลใจ มีหนังสือ ตำรา รวมทั้งบทความภาษาไทยเป็นจำนวนมาก พยายามหามาเยอะ ๆ อ่านและทำความเข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ก่อนที่จะสรุปเป็นประเด็นตามที่กำหนดให้เป็นหัวข้อสัมมนา และจัดทำเป็น "เอกสารประกอบการสัมมนา" มาเผยแพร่ แลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม ดูในตำรา มสธ. ระดับปริญญาตรี ดูในหนังสือ Reinventing the Government ที่ คุณพชร อิศรเสนา แปลไว้เมื่อหลายปีมาแล้ว รวมทั้งที่อาจจะค้นได้ในเว็บไซต์ของทาง กพร. เป็นต้น พร้อมนี้ ก็ขออนุญาตเตือนกันไว้ว่า นี่ก็มาได้ครึ่งทางแล้ว เพื่อน ๆ อ่านหนังสือกันไปถึงไหนแล้ว อย่าอ่านผ่าน ๆ ตานะครับ อ่าน ทำความเข้าใจ และทำโน้ตย่อ โดยเฉพาะความหมาย ขั้นตอน องค์ประกอบ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เพื่อสามารถนำไปใช้เป็น "กรอบหรือแนวทาง" ในการเขียนข้อสอบ "อย่างเป็นระบบ" ความรู้รอบตัว หรือศัพท์แสงเพราะ ๆ แต่ไม่รู้เรื่องช่วยอะไรไม่ได้เลยนะครับ นอกจากนี้ ได้แก่การจับกลุ่มกันเพื่อทบทวนหรือตอวกันเอง ช่วยกันเก็งข้อสอบและคิดหาแนวทางตอบข้อสอบที่เก็ง ๆ กันไว้ เพื่อจะได้(ฝึกมือ)ทดลองเขียนคำตอบอัตนัยไว้ให้คล่อง แม้จะไม่ได้ชั่งน้ำหนักในการให้คะแนนคำตอบ แต่ถ้าเขียนเยอะสักหน่อย พยายามอธิบายสักหน่อย ก็น่าจะช่วย "แสดงภูมิ" หรือสะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาได้ศึกษา ค้นคว้า อ่านตำรามาเยอะ พอจะเรียกร้องขอความเห็นใจได้บ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับพวกที่เขียนคำตอบมาเพียง 1 หน้า หรือครึ่งหน้า หรือแม้แต่บรรทัดเดียวว่า "ขอโทษครับ (ค่ะ) หนูทำข้อสอบไม่ได้จริง ๆ" พวกเราเห็นด้วยไหมครับ ใคร ๆ เขาก็ทำกันได้ หลาย ๆ คนที่เขาสอบผ่านกันไปแล้ว เราเองก็ต้องทำได้ด้วยเช่นกันครับ ขึ้นเวทีมาแล้ว "ต้องสู้ ต้องสู้จึงจะชนะ" ครับ ขอเป็นกำลังใจ ขอให้มีอิทธิบาท 4 รัก วิริยะอุตสาหะเข้าไว้ ครุ่นคิดคำนึงถึงเรื่องที่เรียน รวมทั้งคิดไตร่ตรองเมื่อพบหรือเห็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับรัฐประศาสนศาสตร์ ลองคิดต่อ คิดตาม หรือมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปความเห็นของตนเองไว้นะครับ ขอให้โชคดี ทำข้อสอบได้ และได้เกรดที่ดี ๆ ทุกท่านครับ
| |
ผู้ตั้งกระทู้ อาจารย์มานิต :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-07 09:41:57 IP : 124.121.57.85 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (1345595) | |
เก็บมาฝาก จากโกวิท วงศ์สุรวัฒน์ มติชนรายวัน วันพุธที่ 9 กันยายน 2009 มีความสำคัญในตอนท้ายของบทความว่า ความจริงในแง่ของญาณวิทยา (Epistemology) หรือทฤษฎีของความรู้ทางพระพุทธศาสนาก็อธิบายว่าความรู้ (ความรู้ในภาษาบาลีคือ "ปัญญา") นั้นมีอยู่ 3 ระดับ คือ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น อาจารย์มานิต วันที่ตอบ 2009-09-09 09:14:59 IP : 124.121.61.60 |
[1] |
รศ.ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โทร. 086-9965-491 Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 261549 |
![]() |